พระเครื่องเบญจภาคี
พระเครื่องเบญจภาคี
พระเครื่องประเภทมหานิยมที่พุทธศาสนิกชนไทย เคารพสูงสุดและมักนำติดตัวไปในที่ต่างๆ เพื่อให้คุ้มกัน และคุ้มครองตน 5 ชนิด คือ
1. พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) หรือ พระสมเด็จฯ
2. พระนางพญา
3. พระรอด
4. พระกำแพงทุ่งเศรษฐี หรือ พระซุ้มกอ
5. พระผงสุพรรณ Continue reading
ปฐมบทการพิจารณาพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
“รู้จัก พระสมเด็จ สุดยอดพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่ฝันหา ที่ถูกทำเทียมมากมายจนนับไม่ถ้วน
สุดยอดพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่หาต้องการมีไว้ครอบครองเป็นเจ้าของ เรียกว่าอยากได้มาก ถึงมากที่สุด ต้องยกให้พระสมเด็จในเครือของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อันได้แก่ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนับเป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องที่พุทธศาสนิกชนใฝ่ฝันหา การทำเทียมหรือล้อเลียนรูปแบบพิมพ์ทรงจึงมีมากมายสุดคณานับ ถึงขนาดมีผู้เคยเปรียบเทียบว่า หากนำพระสมเด็จที่ทำเทียมเลียนแบบหรือล้อพิมพ์การสร้างพระของสมเด็จโตตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันทั้งหมดมาเรียงกัน พื้นที่บนท้องสนามหลวงก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรจุพระเทียมดังกล่าวได้หมดสิ้น
การพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามนั้น สำหรับ “นักเลงพระ” ผู้เชี่ยวชาญอาจจะไม่ยากนักที่จะทำความเข้าใจและตรวจสอบดูว่าองค์พระนั้นแท้หรือเทียม เพราะพระแท้มีเอกลักษณ์หลายประการที่พิจารณาได้โดยง่าย แตกต่างชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ถึงขนาดที่เซียนพระบางท่านสามารถแยกแยะพระสมเด็จของแท้เพียงองค์เดียวจากจำนวนพระที่กองสุมอยู่มากมายได้โดยการกวาดสายตาเพียงครั้งเดียว ซึ่งแน่นอนว่า กว่าจะถึงจุดนั้นได้ย่อมต้องผ่านประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในระดับสูงทีเดียว
สำหรับผู้ริเริ่มฝึกหัดการตรวจสอบพระเครื่อง จึงขอแนะนำหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาตรวจโดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ดังนี้
ในการพิจารณาองค์พระเบื้องต้นจะต้องพิจารณาภาพรวมขององค์พระทั้งหมดก่อนว่าเป็นพิมพ์ใด ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามก็มีอยู่เพียง 4 พิมพ์เท่านั้นคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม แม้แต่ละพิมพ์จะแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีกก็ตาม แต่ “ภาพรวม” จะช่วยให้สามารถเห็นถึง “เอกลักษณ์” ของแม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ได้ชัดเจน Continue reading